หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2561

รามยณะ ศึกสงครามรามเกียรติ์


รามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีสำคัญเรื่องหนึ่งของไทย โดยมีต้นเค้าจากวรรณคดีอินเดีย คือมหากาพย์รามายณะที่ฤๅษีวาลมีกิ ชาวอินเดีย แต่งขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต เมื่อประมาณ 2,400 ปีเศษ เชื่อว่าน่าจะเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ จากอิทธิพลของลัทธิพราหมณ์ฮินดู โดยแฝงไว้ซึ่งคติยกย่องพระมหากษัตริย์ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นอวตารของพระนารายณ์
สำหรับเรื่องรามเกียรติ์ ของไทยนั้น มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ทรงพระราชนิพนธ์สำหรับให้ชุมนุมละครโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยเล่น ปัจจุบันมีอยู่ไม่ครบ ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 1 ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งมีมาแต่เดิมให้ครบถ้วน สมบูรณ์ตั้งแต่ต้นจนจบ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เพื่อให้ละครหลวงเล่น โดยได้ทรงเลือกมาเป็นตอน ๆ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ โดยใช้ฉบับของอินเดีย (รามายณะ) มาพระราชนิพนธ์ ใช้ชื่อว่า "บ่อเกิดรามเกียรติ์"
ตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์
พระราม
ตัวละครเอกของมหากาพย์รามายณะ ผู้ถูกกล่าวถึงในฐานะอวตารชาติที่ 7 ของพระวิษณุ พระรามเป็นพระราชโอรสลำดับหัวปีและเป็นราชโอรสองค์โปรดของท้าวทศรถ กษัตริย์แห่งกรุงอโยธา และพระนางเกาศัลยา มีพระอุปนิสัยที่ยึดมั่นในคุณธรรมอย่างยิ่ง พระองค์ต้องออกเดินดงก่อนขึ้นครองราชสมบัติเป็นเวลา 14 ปี เพื่อรักษาสัจจวาจาของพระราชบิดาซึ่งได้ประทานพรแก่นางไกยเกยี ผู้เป็นมเหสีองค์กลาง ว่าจะประทานพรตามที่นางปรารถนา
นางสีดา
มเหสีผู้เป็นที่รักยิ่งของพระรามและราชธิดาของท้าวชนกแห่งกรุงมิถิลา นางเป็นอวตารของพระลักษมี มเหสีแห่งพระวิษณุ
หนุมาน
ราชาวานรผู้มีบทบาทสำคัญในฐานะทหารเอกของพระราม และเป็นผู้ที่จงรักภักดีต่อพระรามมากที่สุด กำเนิดของหนุมานนั้นมีกล่าวถึงต่างๆ กันออกไป โดยมาถือว่าหนุมานเป็นโอรสของพระพาย แต่ในรามายณะของวาลมิกีกล่าวว่าเป็นโอรสของราชาวานรชื่อท้าวเกศรีกับนางอัญชนา ถือกำเนิดขึ้นจากการที่ท้าวเกศรีบำเพ็จตบะขอบุตรจากพระศิวะ บางแห่งจึงนับถือว่าหนุมานเป็นอวตารของพระศิวะด้วย
พระลักษมณ์ (ลักษมัณ)
คือบัลลังก์นาค (พญาอนันตนาคราช) ของพระวิษณุ (พระนารายณ์) อวตารลงมาเป็นพระอนุชาของพระราม พระลักษมณ์เป็นโอรสของท้าวทศรถกับพระนางสุมิตรา ได้ช่วยพระรามทำศึกกับเหล่ายักษ์ เพื่อช่วยนางสีดา
ราวณะ (ทศกัณฐ์)
พญารากษสเชื่อสายพรหมพงศ์เจ้ากรุงลังกา โอรสของพระวิศรวฤๅษีและนางแทตย์ชื่อไกกะษี มีนิสัยชอบก่อกวนการบำเพ็ญตบะของเหล่าฤๅษีและระรานเหล่าเทพและกษัตริย์ต่างๆ ให้ได้รับความเดือดร้อน การที่พระวิษณุต้องอวตารมาเป็นมนุษย์นั้น ก็เนื่องจากว่าราวณะได้รับพรจากพระพรหมหลังจากบำเพ็ญตบะนานนับหมื่นปีว่าจะไม่ถูกสังหารโดยทวยเทพ หมู่มาร และวิญญาณร้ายทั้งปวง ยกเว้นมนุษย์เท่านั้น
ท้าวทศรถ
พ่อของพระราม พระลักษมณ์ พระพรต กับ พระสัตรุต กษัตริย์แห่งกรุงอโยธยา
พระภรต
โอรสของท้าวทศรถกับนางไกยเกยี (มเหสีองค์กลาง) ในรามายณะกล่าวว่าเป็นอวตารอีกภาคหนึ่งของพระวิษณุที่แบ่งภาคลงมาเกิดพร้อมกับพระราม ในระหว่างที่พระรามออกเดินดงนั้น พระภรตไม่ยอมขึ้นครองราชสมบัติแทนพระราม โดยยอมรับเป็นแต่เพียงผู้สำเร็จราชการกรุงอโยธยา เพื่อรอการกลับมาของพระรามอีกครั้งหนึ่งเท่านั้น
พระศัตรุฆน์
โอรสองค์ที่ 4 ของท้าวทศรถ เกิดแต่นางสุมิตรา (มเหสีองค์ที่ 3 ของท้าวทศรถ) และเป็นฝาแฝดกับพระลักษมณ์ ในรามายณะกล่าวว่าเป็นอวตารอีกภาคหนึ่งของพระวิษณุเช่นเดียวกับพระรามและพระภรต


เรื่องราวของรามเกียรติ์ในกัณฑ์ต่างๆ

พาลกัณฑ์


กำเนิดโอรสทั้งสี่แห่งท้าวทศรถ
ท้าวทศรถทรงเป็นกษัตริย์แห่งกรุงอโยธยา เมืองหลวงแห่งอาณาจักรโกศล พระองค์มีพระมเหสี 3 องค์ คือ นางเกาศัลยา นางไกยเกยี และนางสุมิตรา แต่หามีราชโอรสเพื่อจะสืบราชสมบัติไม่ พระองค์จึงได้จัดให้มีพิธีบูชาไฟเพื่อขอบุตรขึ้น พระองค์ได้ราชโอรส 4 องค์เรียงตามลำดับคือ พระราม (เกิดจากนางเกาศัลยา) พระภรต (เกิดจากนางไกยเกยี) พระลักษมณ์และพระศัตรุฆน์ (โอรสแฝดซึ่งเกิดจากนางสุมิตรา) โอรสทั้งสี่นี้คือร่างแบ่งภาคของพระวิษณุ ซึ่งถูกเลือกให้เกิดมาเป็นมนุษย์เพื่อปราบพญายักษ์ราวณะ ผู้ซึ่งเบียดเบียนทวยเทพทั้งหลายและได้รับพรว่าจะถึงแก่ความตายได้ก็ด้วยน้ำมือของมนุษย์เท่านั้น กุมารทั้งสี่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างสมฐานะของโอรสกษัตริย์ และได้รับการสั่งสอนศิลปวิทยาการในแขนงต่างๆ ตามสมควรแก่วรรณะของตน เมื่อพระรามมีชันษาได้ 16 ปี พระฤๅษีวิศวามิตรได้มายังราชสำนักแห่งท้าวทศรถเพื่อขอให้พระรามผู้เป็นราชโอรสช่วยปราบอสูรที่คอยรบกวนการทำพิธีกรรมของเหล่าฤๅษีอยู่ตลอดเวลา ในการนี้พระลักษมณ์ได้ร่วมติดตามไปกับพระรามด้วย พระรามและพระลักษมณ์ได้รับคำสั่งสอนและอาวุธวิเศษจากพระฤๅษีวิศวามิตร และสามารถปราบยักษ์ร้ายเหล่านั้นลงได้
ฝ่ายท้าวชนก กษัตริย์แห่งกรุงมิถิลา วันหนึ่งพระองค์ได้ประกอบพิธีแรกนาขวัญ และทรงไถนาได้กุมารีนางหนึ่งซึ่งถือกำเนิดอยู่ในผืนดินที่พระองค์ประกอบพิธีอยู่ พระองค์ได้รับเลี้ยงกุมารีนั้นด้วยความดีพระทัยอย่างยิ่ง และทรงขนานนามเด็กหญิงนั้นว่า "สีดา" อันมีความหมายว่ารอยไถในภาษาสันสกฤต (สันสกฤตसीता; สีตา) นางสีดาเติบโตขึ้นเป็นหญิงงามและมีเสน่ห์อย่างไม่มีใครเทียบเทียมได้ และเมื่อนางมีอายุพอสมควรที่จะมีคู่ได้ ท้าวชนกจึงได้จัดพิธีสยุมพร เพื่อหาคู่ครองที่สมควรให้แก่ราชธิดาของพระองค์ ในพิธีครั้งนี้พระองค์ได้จัดให้มีการแข่งขันยกมหาธนูโมลี อันเป็นเทพอาวุธที่พระศิวะประทานให้แก่ท้าวชนก โดยตั้งเงื่อนไขไว่ว่า ใครก็ตามที่สามารถยกธนูนี้ขึ้นได้ก็จะได้นางสีดาไปครอง พระวิศวามิตรได้แนะให้พระรามและพระลักษมณ์เข้าร่วมในงานสยุมพรดังกล่าว พระรามสามารถยกมหาธนูโมลีได้เพียงผู้เดียวและยังก่งธนูดังกล่าวจนหัก พิธีอภิเษกของพระรามกับนางสีดาจึงเกิดขึ้นพร้อมด้วยการอภิเษกของราชโอรสอีกสามองค์ของท้าวทศรถกับราชธิดาและและราชนัดดาองค์อื่นๆ ของท้าวชนกที่นครมิถิลาและมีการเฉลิมฉลองอย่างมโหฬาร เมื่อสิ้นสุดงานแล้วบรรดาคู่บ่าวสาวจึงได้เดินทางกลับสู่กรุงอโยธยา

อโยธยากัณฑ์


พระภรตทูลขอฉลองพระบาทของพระรามเป็นของแทนพระองค์ก่อนที่พระรามจะออกเดินดง 14 ปี, ผลงานของภวานราวะ ศรีนิวาสราวะ ปันตะประตินิธี, ค.ศ. 1916
หลังจากการอภิเษกสมรสของพระรามกับนางสีดาผ่านไปได้ 12 ปี ท้าวทศรถว่าตระหนักพระองค์ชราลงไปมากจึงดำริที่จะยกราชสมบัติให้พระรามเป็นผู้สืบทอดต่อไป บรรดาข้าราชบริพารต่างล้วนสนับสนุนพระดำริของท้าวทศรถเช่นกัน ทว่าก่อนจะมีพีธีราชาภิเษกนั้น นางไกยเกยีซึ่งถูกยุยงจากนางทาสีหลังค่อมชื่อนางมันถรา ได้ทวงคำสัญญาจากท้าวทศรถที่เคยให้ไว้ในกาลก่อนว่าจะดลบันดาลให้ตามที่นางปรารถนา โดยพรที่นางขอคือให้เนรเทศพระรามออกจากเมืองไป 14 ปี และให้พระภรตซึ่งเป็นโอรสที่เกิดจากนางได้ครองราชสมบัติแทนในช่วงเวลาดังกล่าวนั้น พระราชาจำต้องอนุมัติตามที่นางขอเพื่อรักษาสัจจวาจาที่พระองค์ให้ไว้ด้วยพระทัยที่แหลกสลาย พระรามยอมรับต่อราชโองการนั้นโดยความอ่อนน้อมและความสุขุมเยือกเย็น ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของพระองค์ที่จะปรากฏต่อไปตลอดเรื่อง พระลักษมณ์และนางสีดาได้ของติดตามพระรามไปด้วย เมื่อพระรามได้กล่าวห้ามนางสีดา นางได้เอ่ยว่า "ผืนป่าที่พระองค์สถิตอยู่คือเมืองอโยธยาสำหรับหม่อมฉัน และเมืองอโยธยาที่ไร้พระองค์นั้นคือนรกอันแท้จริงของหม่อมฉัน"
หลังจากพระรามเสด็จออกจากรุงอโยธยา ท้าวทศรถได้สวรรคตด้วยความตรอมพระทัย ขณะเดียวกัน พระภรตผู้เสด็จไปเยี่ยมพระมาตุลาที่ต่างเมืองก็ได้ทราบเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอโยธยา พระองค์จึงปฏิเสธที่จะขึ้นครองเมืองตามที่พระมารดาของตนได้ขอไว้และเสด็จไปติดตามพระรามในป่า โดยร้องขอให้พระรามกลับคืนเมืองและขึ้นครองราชย์ตามพระประสงค์อันแท้จริงของพระราชบิดา แต่พระรามต้องการรักษาสัจจวาจาของพระราชบิดาไว้จึงตอบปฏิเสธไป พระภรตจึงทูลขอฉลองพระบาทของพระรามและเชิญไปประดิษฐานยังพระราชบัลลังก์เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนพระองค์ ส่วนพระภรตคงอยู่รักษาเมืองอโยธยาต่อไปในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เท่านั้น

อรัณยกัณฑ์


ราวณะประหารพญาแร้งชฏายุที่เข้ามาช่วยเหลือนางสีดา, ผลงานของราชา รวิ วรรมา, ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19
พระราม นางสีดา และพระลักษมณ์เดินทางลงใต้เลียบไปตามริมฝั่งแม่น้ำโคทาวารี และตั้งอาศรมพำนักและใช้ชีวิตอยู่ในบริเวณนั้น ที่ป่าปัญจวดีนั้นทั้งสามได้พบกับนางรากษสีชื่อ "ศูรปนขา" น้องสาวของพญายักษ์ราวณะ นางพยายามยั่วยวนสองพี่น้องให้มาเป็นสวามีและคิดจะฆ่านางสีดาให้ได้ พระลักษมณ์จึงหยุดนางด้วยการจับนางมาเชือดหูตัดจมูกเสีย เมื่อพญาขร พี่ชายของนางศูรปนขา ได้รู้เรื่องดังกล่าว จึงนำกองทหารมาจัดการกลุ่มของพระราม ทว่าพระรามกลับสามารถจัดการพญาขรกับกองทหารทั้งหมดลงได้
เรื่องความอับอายของนางศูรปนขาและความตายของพญาขรได้รู้เข้าไปถึงหูของพญาราวณะ พญายักษ์จึงหาวิธีทำลายพระรามโดยอาศัยความช่วยเหลือจากมารีศ มารีศได้แปลงร่างเป็นกวางทองมาล่อลวงนางสีดาให้หลงใหล นางสีดาเมื่อได้เห็นกวางทองแล้วจึงร้องขอให้พระรามช่วยจับกวางนั้นมาเลี้ยง แม้จะระแวงอยู่ว่ากวางนั้นเป็นยักษ์แปลงมาก็ตาม แต่พระรามขัดนางสีดาไม่ได้ จำต้องออกไปตามกวางตามความประสงค์นั้น โดยฝากให้พระลักษมณ์ช่วยคุ้มกันนางสีดาแทนตน เวลาผ่านไปนางสีดาได้ยินเสียงเหมือนกับว่าพระรามเรียกพระลักษมณ์ให้ตามไปช่วย นางจึงบอกให้พระลักษมณ์ไปช่วยพระรามด้วย พระลักษมณ์ได้ทูลเตือนพระพี่นางของตนว่าพระรามนั้นแข็งแกร่งไม่มีใครทำร้ายได้ และตนจะต้องเชื่อฟังคำสั่งของพระราม นางสีดาจึงคร่ำครวญด้วยความอึดอัดใจว่า คนที่ต้องการความช่วยเหลือในตอนนี้ไม่ใช่นาง แต่เป็นพระรามต่างหาก พระลักษมณ์เมื่อเห็นว่าจะขัดนางไม่ได้จึงจำต้องออกไปตามหาพระราม แต่ว่าพระลักษมณ์เองก็ได้ตั้งเงื่อนไขไว้ว่านางสีดาจะต้องไม่ออกจากเขตอาศรม และออกไปต้อนรับคนแปลกหน้าเป็นอันขาด เมื่อบริเวณอาศรมพระรามเปิดโล่งเช่นนี้ ราวณะจึงได้แปลงกายเป็นฤๅษี กระทำภิกขาจารขออาหารจากนางสีดา ครั้นสบโอกาสในขณะที่นางสีดาไม่ระวังตัว ราวณะจึงลักพาตัวนางสีดาไปจากอาศรมได้
พญาแร้งตนหนึ่งชื่อชฏายุได้พยายามช่วยนางสีดาจากเงื้อมมือของราวณะ แต่พลาดท่าเสียทีถูกราวณะทำร้ายจนบาดเจ็บสาหัสและไม่อาจช่วยเหลือนางสีดาได้ ราวณะได้พาตัวนางสีดามาไว้ยังกรุงลังกาและให้บรรดานางรากษสีคอยดูแลคุ้มกันนางอย่างเข้มงวด ราวณะะได้พยายามเกี้ยวนางสีดาเป็นชายา แต่นางสีดาไม่ยอมรับ และยังภักดีมั่นต่อพระรามเท่านั้น พระรามและพระลักษมณ์หลังจัดการมารีศแล้วก็ได้ทราบเรื่องนางสีดาถูกลักพาตัวจากนกชฏายุก่อนจะสิ้นใจ ทั้งสองจึงเดินทางออกตามหานางสีดาทันที ระหว่างการเดินทาง ทั้งสององค์ได้ยักษ์ชื่อ "กพันธะ" และนางดาบสีนีชื่อ "ศพรี" ชี้ทางให้เดินทางไปพบพญาวานรสุครีพและหนุมาน

กีษกินธากัณฑ์


พญาพาลีรบกับสุครีพ ภาพจำหลักหิน ศิลปะบาปวนสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 11 (ราวพุทธศตวรรษที่ 16) ได้จากเมืองพระตะบองประเทศกัมพูชา (สมบัติของพิพิธภัณฑ์กีเมต์, ปารีส, ฝรั่งเศส)
เรื่องราวของกีษกินธากัณฑ์เกิดขึ้นในนครกีษกินธา เมืองแห่งวานร พระรามและพระลักษณ์ได้พบกับหนุมาน ขุนทหารวานรผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดและเป็นผู้ติดตามของสุครีพ อุปราชแห่งนครกิษกินธาผู้ถูกพี่ชาย (พญาพาลี กษัตริย์แห่งกิษกินธา) ขับออกจากเมืองของตน พระรามได้ผูกมิตรกับพญาสุครีพและให้ความช่วยเหลือสุครีพในการสังหารพญาพาลีเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนในการให้ความช่วยเหลือพระรามในการตามหานางสีดา
เมื่อพาลีสิ้นชีวิตและนครกิษกินธาตกอยู่ในความปกครองของสุครีพแล้ว สุครีพกลับลืมคำสัญญาดังกล่าวและมัวเพลิดเพลินอยู่กับการเสวยสุขในนคร พระลักษมณ์โกรธสุครีพมากจึงจะตรงไปทำลายนครวานรเสีย นางตาราผู้เป็นชายาของสุครีพได้เกลี้ยกล่อมให้สุครีพทำตามคำสัญญาที่ไว้แก่พระราม เพื่อบรรเทาความโกรธของพระลักษมณ์และรักษาเกียรติยศของตัวสุครีพเอง สุครีพจึงได้ส่งกองทหารวานรออกไปสืบหาข่าวของนางสีดาในทั้งสี่ทิศ ผลปรากฏว่ามีเพียงกองทหารที่ส่งไปหาข่าวทางทิศใต้ (ภายใต้การนำขององคตและหนุมาน) ที่ประสบความสำเร็จ โดยกองทหารชุดดังกล่าวได้ข่าวจากพญาแร้งสัมปาติว่านางสีดาถูกนำตัวไปยังกรุงลังกา

สุนทรกัณฑ์


พญาราวณะพยายามเกี้ยวนางสีดาในป่าอโศก ส่วนหนุมานคอยซุ่มดูอยู่บนต้นไม้
เนื้อหาของสุนทรกัณฑ์นับได้ว่าเป็นหัวใจหลักของมหากาพย์รามายณะฉบับวาลมิกี และประกอบด้วยรายละเอียดการผจญภัยของหนุมานอันน่าตื่นเต้น เรื่องราวจับความตั้งแต่เมื่อกองทหารวานรทราบข้อมูลเกี่ยวกับนางสีดา หนุมานจึงได้แปลงร่างของตนให้สูงใหญ่และกระโจนข้ามมหาสมุทรไปยังเกาะลังกา ณ ที่นี้ หนุมานได้พบนครของเหล่ารากษส และได้สืบข่าวของพญายักษ์ราวณะจนกระทั่งทราบว่าราวณะได้พาตัวนางสีดาไปไว้ยังป่าอโศกและพยายามเกี้ยวพาราสีนางสีดาให้เป็นชายาของตน หนุมานจึงลอบเข้าไปถวายแหวนของพระรามแก่นางสีดา เพื่อเป็นเครื่องยืนยันว่าพระรามยังปลอดภัยดี และยังได้เสนอที่จะพานางสีดากลับไปพบพระรามด้วย แต่นางได้ปฏิเสธข้อเสนอนี้ เพราะไม่ประสงค์จะให้บุรุษอื่นนอกจากสวามีของตนสัมผัสตัวของนางอีก นางสีดาได้ฝากข้อความไปยังพระรามด้วยว่าขอให้พระองค์มาช่วยนางและล้างอายที่นางต้องถูกราวณะลักพามาด้วย
หลังเสร็จการเข้าเฝ้านางสีดา หนุมานก็ได้ก่อความวุ่นวายขึ้นในกรุงลังกาด้วยการทำลายต้นไม้และอาคารต่างๆ พร้อมทั้งสังหารทหารของราวณะจำนวนมาก เมื่อราวณะส่งอินทรชิตมาจับตัวหนุมาน หนุมานก็แกล้งยอมให้ถูกจับโดยง่ายและถูกคุมตัวให้ไปพบกับพญายักษ์ราวณะ หนุมานได้เอ่ยปากให้ราวณะปล่อยตัวนางสีดาเสีย ราวณะจึงสั่งให้ทหารจุดไฟเผาหางของหนุมานเป็นการลงโทษ ทันทีที่ไฟติดหาง หนุมานก็ได้สะบัดตัวหลุดออกจากพันธนาการแล้วเผากรุงลังกาจนพินาศย่อยยับ จากนั้นจึงได้กลับไปยังฝั่งแผ่นดินใหญ่สมทบกับกองทัพวานร เพื่อกลับไปแจ้งข่าวดีที่นครกิษกินธาต่อไป

ยุทธกัณฑ์


ศึกลังกา ตอนหนุมานประหารยักษ์ตรีศิระ (ตรีเศียร), ผลงานของไซฮิบดิน, ได้จากเมืองอุทัยปุระ, ราว (ค.ศ. 1649-53)
ยุทธกัณฑ์เป็นกัณฑ์ที่ว่าด้วยสงครามระหว่างพระรามกับท้าวราวณะ หลังจากพระรามได้ทราบข่าวของนางสีดาจากหนุมานแล้ว พระองค์พร้อมด้วยพระลักษมณ์และกองทัพวานรก็ได้เดินทางมุ่งตรงไปยังชายฝั่งทะเลทางทิศใต้ ณที่นั้นทั้งหมดได้พบกับวิภีษณะ น้องชายของราวณะผู้คัดค้านการลักพาตัวนางสีดาจนถูกขับไล่ออกจากกรุงลังกา ซึ่งได้ขอเข้าร่วมทัพกับพระราม กองทัพพระรามได้ยกไปยังกรุงลังกาโดยใช้สะพานหินซึ่งมีขุนพลวานร "นละ" กับ "นีละ" เป็นแม่กองในการสร้าง สงครามดำเนินไปเป็นระยะเวลานานและจบลงด้วยการที่พระรามสามารถประหารพญายักษ์ราวณะได้ พระรามจึงแต่งตั้งให้วิภีษณะเป็นกษัตริย์ครองกรุงลังกาแทนสืบไป
เมื่อได้พบกับนางสีดา พระรามได้ขอร้องให้นางสีดาเข้าพิธีลุยไฟเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของนาง เพราะนางได้ตกอยู่ในเงื้อมมือของยักษ์มาเป็นเวลานานหลายปี ทันทีทีนางได้ย่างเท้าเข้าสู่กองไฟในพิธีลุยไฟนั้น พระอัคนีผู้เป็นเทพแห่งไฟได้ทูนนางขึ้นไปยังบัลลังก์โดยหาได้ทำอันตรายแก่นางแต่อย่างใดไม่ แสดงถึงการยืนยันในความบริสุทธิ์ในตัวนางสีดาอย่างชัดแจ้ง เรื่องราวในตอนพิธีลุยไฟนี้กล่าวความต่างกันในรามายณะฉบับของวาลมิกีและฉบับของตุลสิทาส เนื้อความที่กล่าวถึงข้างต้นนั้นเป็นเรื่องจากฉบับของวาลมิกี ส่วนในรามายณะฉบับรามจริตมนัสของตุลสิทาสกล่าวว่า นางสีดาอยู่ภายใต้การคุ้มครองของพระอัคนี จึงเป็นการจำเป็นที่จะเชิญนางออกจากความคุ้มครองของพระอัคนีก่อนกลับมาอยู่ร่วมกับพระรามอีกครั้ง เมื่อวาระแห่งการเดินดง 14 ปี สิ้นสุดลง พระรามพร้อมด้วยนางสีดาและพระลักษมณ์ก็ได้กลับคืนสู่กรุงอโยธยา พระภรตได้ถวายราชสมบัติคืนและจัดพิธีราชาภิเษกพระรามขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองอาณาจักรโกศล

อุตตรกัณฑ์


นางสีดาประทับในบริเวณอาศรมของพระวาลมิกีฤๅษี, วาดขึ้นราว ค.ศ. 1800 - 1825
อุตตรกัณฑ์กล่าวถึงเรื่องราวในช่วงบั้นปลายชีวิตของพระราม นางสีดา และเหล่าอนุชาของพระราม ซึ่งเรื่องราวในกัณฑ์นี้ถูกมองว่าเป็นส่วนที่เพิ่มเติมเข้ามาต่อจากรามายณะฉบับดั้งเดิมที่วาลมิกีรจนาไว้ และมีเนื้อหาที่ไม่ปะติดปะต่อกัน เนื้อความในกัณฑ์นี้ประกอบด้วยเรื่องอสุรพงศ์, ราวณะเยี่ยมพิภพ, การประพฤติพาลและการสงครามของราวณะ, วานรพงศ์ เหตุบันดาลให้ราวณะลักนางสีดา, การส่งกษัตริย์มาช่วยงานราชาภิเษกพระราม, พระรามเนรเทศนางสีดา, พระรามเล่านิยายโบราณสอนพระลักษมณ์, คุณของพระราม, พระศัตรุฆน์ปราบลพณาสูร, นางสีดาประสูติโอรส, พระรามประกอบพิธีอัศวเมธและรับนางสีดาคืนเมือง, ศึกพระภรต, เนรเทศพระลักษมณ์ และพระรามพร้อมด้วยบริวารกลับสวรรค์
ส่วนที่ต่อเนื่องจากยุทธกัณฑ์เริ่มจับความตั้งแต่หลังจากการขึ้นครองราชย์ของพระราม พระองค์ได้ครองคู่กับนางสีดาอย่างมีความสุขเป็นเวลาหลายปี ทว่าแม้นางสีดาได้ได้ผ่านพิธีลุยไฟเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนแล้วก็ตาม แต่ชาวอโยธยาก็ยังคงมีข้อครหาต่อความบริสุทธิ์ของนางอยู่ตลอด พระรามจำต้องยอมตามความเห็นของมหาชนและเนรเทศนางสีดาออกไปจากเมือง แม้จะเชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ของนางอยู่ก็ตาม นางสีดาจึงได้ไปอาศัยอยู่สำนักอาศรมของพระฤๅษีวาลมิกี จนกระทั่งนางได้ประสูติโอรสแฝดที่ติดพระครรภ์ 2 องค์ คือ เจ้าชายลวะและเจ้าชายกุศะ พระกุมารทั้งสองต่อมาได้เล่าเรียนศิลปวิทยาการจากพระฤๅษีวาลมิกีและได้เติบโตขึ้นโดยที่ยังไม่ทราบถึงสถานะที่แท้จริงของตนเอง
พระฤๅษีวาลมิกีได้รจนามหากาพย์รามายณะและสวดให้สองกุมารสวดหนังสือเรื่องนี้ ต่อมาเมื่อพระรามได้กระทำพิธีอัศวเมธ พระวาลมิกีจึงได้เข้าร่วมพิธีโดยพาสองกุมารไปด้วย และให้กุมารทั้งสองสวดเรื่องรามายาณะท่ามกลางมหาสมาคมต่อเบื้องพระพักตร์ของพระราม เมื่อสองกุมารสวดไปถึงตอนพระรามเนรเทศนางสีดา พระรามได้กันแสงออกมา พระวาลมิกีจึงได้เชิญนางสีดาออกมาพบพระราม ณ ที่นั้น นางได้ประกาศถึงความบริสุทธิ์ของตนโดยอ้างเอาแม่พระธรณีเป็นพยาน โดยกล่าวว่าหากนางเป็นผู้บริสุทธิ์จริงของให้แผ่นดินรับเอานางไปอยู่ด้วย เมื่อจบคำประกาศแล้ว แผ่นดินก็ได้แหวกเป็นช่องให้นางลงไปเบื้องล่างและหายไปกับผืนดินที่ปิดสนิท หลังจากนั้นพระรามจึงได้รับเอาโอรสทั้งสองของพระองค์เข้ามาเลี้ยงดูในวังสืบมา จนกระทั่งเมื่อบรรดาเทพเจ้าบนสวรรค์ได้ส่งข่าวผ่านพระยมว่าภารกิจการอวตารของพระองค์สิ้นสุดแล้ว พระรามจึงจัดการแบ่งราชสมบัติให้พระโอรสทั้งสองปกครอง และทำพิธีกลับคืนสู่สวรรค์พร้อมเหล่าพระอนุชาและขุนพลวานร

ความแตกต่างจากรามเกียรติ์

ความแตกต่างระหว่างรามายณะและรามเกียรติ์ มีหลายประการ เช่น
1. ในรามายณะ หนุมานเป็นอวตารปางหนึ่งของพระอิศวร ชื่อรุทรอวตาร หนุมานในรามายณะไม่เจ้าชู้เหมือนหนุมานในรามเกียรติ์ซึ่งแสดงค่านิยมของชายไทยโบราณอย่างเห็นได้ชัด
2. ในรามายณะ ชาติก่อน ทศกัณฑ์กับกุมภกัณฑ์เป็นนายทวารเฝ้าที่อยู่ของพระนารายณ์ชื่อชัยกับวิชัย ซึ่งพระนารายณ์ห้ามไม่ให้ใครเข้าในเวลาที่ทรงเกษมสำราญ ต่อมามีฤๅษีมาขอเข้าพบพระนารายณ์ นายทวารทั้งสองไม่ยอมให้เข้า ฤๅษีจึงสาปให้ชัยกับวิชัยต้องไปเกิดในโลกมนุษย์ได้รับความทรมาน พวกเขาจึงไปขอความเมตตาจากพระนารายณ์เพราะตนเพียงแต่ทำตามคำสั่งเท่านั้น พระนารายณ์บอกว่าแก้คำสาปฤๅษีไม่ได้แต่บรรเทาให้เบาบางลงได้ โดยให้ทั้งสองไปเกิดเป็นยักษ์เพียงสามชาติ และทั้งสามชาติพระนารายณ์จะลงไปสังหารทั้งสองเองเพื่อให้หมดกรรม ชาติแรกชัยกับวิชัยเกิดเป็นหิรัณยักษ์กับหิรัณยกศิปุ พระนารายณ์อวตารเป็นหมู และนรสิงห์ไปปราบ ชาติที่สองนายทวารทั้งสองเกิดเป็นทศกัณฑ์กับกุมภกัณฑ์ พระนารายณ์อวตารเป็นพระรามไปปราบ ชาติที่สามนายทวารทั้งสองเกิดเป็นพญากงส์ และศรีศุภปาน พระนารายณ์อวตารเป็นพระกฤษณะไปปราบ
3. กุมกรรณในรามายณะมีลักษณะคล้ายกุมภกรรณในรามเกียรติ์ คือเป็นคนซื่อสัตย์เที่ยงธรรม แต่ในรามายณะ กุมภกรรณได้เคยขอพรพระพรหมให้ตนเองมีสภาพคล้ายพระวิษณุ คือนอนหลับอยู่เป็นเวลานานจึงตื่นเพียงวันเดียว และหยั่งรู้ความเป็นไปของโลกในการนอนหลับนั้น ดังนั้นเมื่อทศกัณฑ์ปลุกกุมภกรรณให้ไปรบกับพระนารายณ์นั้น เขาย่อมรู้ว่าพระรามนั้นที่แท้คือพระวิษณุและเขาไม่มีทางรบชนะเด็ดขาด แต่ด้วยหน้าที่ของการเป็นทหาร กุมภกรรณยังคงตัดสินใจไปรบโดยทูลทศกัณฑ์ว่า ถ้าตนตายในการรบก็ขอให้ทศกัณฑ์ยอมแพ้เสีย เพราะถ้าตนรบชนะไม่ได้ก็ย่อมไม่มีใครในลงการบชนะพระรามได้
4. ในรามายณะไม่มีตัวละครหลายตัวที่รามเกียรติ์แต่งเพิ่มขึ้นมา เช่น ท้าวจักรวรรดิ ท้าวสหัสเดชะ ท้าวมหาชมพู และมีตัวละครหลายตัวที่ถูกรวมเป็นตัวเดียว เช่น สุกรสารในรามเกียรติ์ มาจากสายลับของกรุงลงกาสองคนชื่อสุก กับ สรณะ

อนิเมชั่นเรื่อง "รามเกียรติ์"
โปรดรับชมเพื่อความสนุกสนานเท่านั้น

อ้างอิง

เทคโนโลยีสารสนเทศการตลาด

เทคโนโลยีสารสนเทศทางการตลาด(Marketing  Information  Technology)

                การดำเนินกิจกรรมด้านการขายและการตลาดจะถือเป็นภาระงานที่สำคัญภายใต้โซ่คุณค่าขององค์การ  ที่สืบเนื่องจากแนวคิดการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน  มักเน้นที่ความพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ องค์การจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านการตลาด  รวมทั้งการสร้างแรงจูงใจให้กับบุคลากรของทุกหน่วยงาน  ในการสร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์ที่ส่งมอบต่อลูกค้าทุกราย  อันจะนำไปสู่ระดับความพึงพอใจของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้น
                ระบบสารสนเทศทางการตลาด  เป็นเครื่องมือหนึ่งของการนำเสนอสารสนเทศเพื่อใช้สำหรับงานด้านการตลาดในส่วนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และโปรแกรมทางการตลาดที่ดี จึงจำเป็นต้องใช้สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของลูกค้า คู่แข่งขัน ผู้ขาย ตลอดจนผู้ที่มีบทบาทอื่นทางการตลาดด้วย  เนื่องจากในปัจจุบัน  ขนาดของตลาดใหญ่ขึ้น ผู้ซื้อมีทางเลือกเพิ่มขึ้น วิธีการทางการตลาดมีความซับซ้อนขึ้น อีกทั้งธุรกิจยังจำเป็นต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อม  ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีการแข่งขันสูง  ด้วยเหตุนี้ การใช้สารสนเทศที่ทันต่อเหตุการณ์จึงยิ่งจะทวีความจำเป็นมากยิ่งขึ้น 

                   การตลาด (marketing) เป็นหน้าที่สำคัญทางธุรกิจ เนื่องจากหน่วยงานด้านการตลาดจะรับผิดชอบในการกระจายสินค้าและบริการไปสู่ ลูกค้า ตั้งแต่การศึกษา และวิเคราะห์ความต้องการ การวางแผนและการสร้างความต้องการ ตลอดจนส่งเสริมการขายจนกระทั้งสินค้าถึงมือลูกค้า ปกติการตัดสินใจทางการตลาดจะเกี่ยวข้องกับการจัดส่วนประสมทางการตลาด (marketing mix) หรือ ส่วนประกอบที่ทำให้การดำเนินงานทางการตลาดประสบความสำเร็จ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยหลัก 4 ประการ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ (product) ราคา (price) สถานที่ (place) และการโฆษณา (promotion) หรือที่เรียกว่า 4Ps โดยสารสนเทศที่นักการตลาดต้องการในการวิเคราะห์ วางแผน ตรวจสอบ และควบคุมให้แผนการตลาดเป็นไปตามที่ต้องการมาจากแหล่งข้อมูลดังต่อไปนี้
1.  การปฏิบัติงาน (operations) เป็นข้อมูลที่แสดงถึงยอดขายและการดำเนินงานด้านการตลาด ตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา โดยข้อมูลการปฏิบัติงานจะเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานที่ช่วย ในการตรวจสอบ ควบคุม และวางแนวทางปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นในอนาคต
2.  การวิจัยตลาด (marketing research) เป็นข้อมูลที่ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด โดยเฉพาะพฤติกรรมและความสัมพันธ์ของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์หรือบริการ ของธุรกิจ โดยนักการตลาดจะทำการวิจัยบนสมมติฐานและการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ปกติข้อมูลในการวิจัยตลาดจะได้มาจากการรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ และการใช้แบบสอบถาม การวิจัยตลาดช่วยผู้บริหารในการวางแผนและการตัดสินใจทางการตลาด แต่อาจมีข้อจำกัดของความถูกต้องและความน่าเชื่อถือในการอธิบายพฤติกรรมของ กลุ่มเป้าหมาย
3.  คู่แข่ง (competitor) คำกล่าวที่ว่า “รู้เขารู้เรา รอบร้อยครั้งชนะทั้งร้อยครั้ง” แสดงความสำคัญที่ธุรกิจต้องมีความเข้าใจในคู่แข่งขันทั้งด้านจำนวนและ ศักยภาพ โดยข้อมูลจากการดำเนินงาน ของคู่แข่งขันช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนการตลาดอย่างเหมาะสม ปกติข้อมูลจากคู่แข่งขันจะมีลักษณะไม่มีโครงสร้าง ไม่เป็นทางการ และมีแหล่งที่มีไม่ชัดเจน เช่น การทดลองใช้สินค้าหรือบริการ การสัมภาษณ์ลูกค้าและตัวแทนจำหน่าย การติดตามข้อมูลในตลาด และข้อมูลจากสื่อสารมวลชน เป็นต้น
4.  กลยุทธ์ขององค์การ (corporate strategy) เป็นข้อมูลสำคัญทางการตลาด เนื่องจากกลยุทธ์จะเป็นเครื่องกำหนดแนวทางปฏิบัติของธุรกิจ และเป็นฐานในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดขององค์การ
5.  ข้อมูลภายนอก (external data) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และเทคโนโลยี ซึ่งจะส่งผลต่อโอกาสหรืออุปสรรคของธุรกิจ โดยทำให้ความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์หรือบริการของลูกค้าขยาย หรือหดตัว ตลอดจนสร้างคู่แข่งขันใหม่หรือ เปลี่ยนขั้นตอนและรูปแบบในการดำเนินงาน


สารสนเทศด้านการตลาดอาจจะมีความแตกต่างกันตามประเภทของธุรกิจซึ่ง เราสามารถจำแนกระบบย่อยของระบบสารสนเทศด้านการตลาดได้ดังต่อไปนี้
1.  ระบบสารสนเทศสำหรับการขาย  สามารถแบ่งออกเป็นระบบย่อย 3 ระบบดังต่อไปนี้
     ระบบสารสนเทศสำหรับสนับสนุนการขาย จะรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของฝ่ายขาย เพื่อให้การขายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งข้อมูลที่ระบบต้องการจะเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่จะทำการขาย รูปแบบ ราคา และการโฆษณาต่าง ๆ เพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้า นอกจากนี้อาจเกี่ยวกับช่องทางและ วิธีการขายสินค้าผ่านตัวแทนจำหน่ายในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับ ลูกค้า ตลอดจนคู่แข่งของผลิตภัณฑ์ที่จะขายและจำหน่ายสินค้าคงคลังของบริษัท
     ระบบสารสนเทศสำหรับวิเคราะห์การขาย
จะรวบรวมสารสนเทศในเรื่องของกำไรหรือขาดทุนของผลิตภัณฑ์ ความสามารถของพนักงานขายสินค้า ยอดขายของแต่ละเขตการขาย รวมทั้งแนวโน้มการเติบโตของสินค้า ซึ่งสามารถหาข้อมูลได้จากรายงานต่าง ๆ เช่น รายงานการขาย รายงานของต้นทุนสินค้าและวัตถุดิบ เป็นต้น
     ระบบสารสนเทศสำหรับการวิเคราะห์ลูกค้าจะช่วยในการวิเคราะห์ลูกค้าเพื่อให้ทราบถึงรูปแบบของการซื้อและ ประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ เพื่อที่ธุรกิจจะสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
                
2.  ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยตลาด สามารถแบ่งออกเป็นระบบย่อยตามหน้าที่ได้ 2 ระบบ ดังต่อไปนี้
     ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยลูกค้า  การ วิจัยลูกค้าจะต่างกับการวิเคราะห์ลูกค้าตรงที่ว่าการวิจัยลูกค้าจะมีขอบเขต ของการใช้สารสนเทศกว้างกว่าการวิเคราะห์ลูกค้า โดยการวิจัยลูกค้าจะต้องการทราบสารสนเทศ ที่เกี่ยวกับลูกค้าในด้านสถานะทางการเงิน การดำเนินธุรกิจ ความพอใจ รสนิยมและพฤติกรรมการบริโภค
    ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยตลาด 
การวิจัยตลาดจะให้ความสำคัญกับการหาขนาดของตลาดของแต่ละผลิตภัณฑ์ที่จะนำออก จำหน่าย ซึ่งอาจครอบคลุมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว หลังจากนั้นก็จะกำหนดส่วนแบ่งตลาดของผลิตภัณฑ์เพื่อทำการวางแผน กำหนดเป้าหมาย กำหนดกลยุทธ์และวางแผนกลยุทธ์ สารสนเทศที่เป็นที่ต้องการของการวิจัยตลาดคือสภาวะและแนวโน้มทาง เศรษฐกิจ ยอดขายในอดีตของอุตสาหกรรมหรือผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันในตลาด รวมทั้งสภาวะการแข่งขันของผลิตภัณฑ์นี้ด้วย
3.  ระบบสารสนเทศสำหรับการส่งเสริมการขาย  เป็น ระบบที่ให้ความสำคัญกับแผนงานทางด้านการโฆษณาและส่งเสริมการขาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการขาย เพิ่มยอดขายสินค้า และเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดให้สูงขึ้น  สารสนเทศที่เป็นที่ต้องการคือยอดขายของสินค้าทุกชนิดในบริษัท เพื่อให้รู้ว่าสินค้าใดต้องการแผนการส่งเสริมการขาย และสารสนเทศที่เกี่ยวกับผลกำไรหรือขาดทุนของสินค้าแต่ละชนิด เพื่อให้ความสำคัญกับสินค้าตัวที่ทำกำไร
4.  ระบบสารสนเทศสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ  เป็นระบบสารสนเทศที่วิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ลักษณะและความต้องการของลูกค้าต่อผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการของลูกค้าแต่ยังไม่มีตลาด โดยสารสนเทศที่เป็นที่ต้องการของระบบได้แก่ ยอดขายของผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันในอดีต  เพื่อให้ทราบถึงขนาดและลักษณะของตลาด และการประมาณการต้นทุน เพื่อตอบคำถามให้ได้ว่าสมควรที่จะออกผลิตภัณฑ์ใหม่หรือไม่
5.  ระบบสารสนเทศสำหรับพยากรณ์การขาย  เป็นระบบที่ใช้ในการวางแผนการขาย แผนการทำกำไรจากสินค้าหรือบริการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของบริษัท ซึ่งจะส่งผลไปถึงการวางแผนการผลิต การวางกำลังคน และงบประมาณที่จะใช้เกี่ยวกับการขาย โดยสารสนเทศที่เป็นที่ต้องการคือ ยอดขายในอดีต สถานะของคู่แข่งขัน สภาวการณ์ของตลาด และแผนการโฆษณา
6.  ระบบสารสนเทศสำหรับการวางแผนกำไร  เป็น ระบบสารสนเทศที่ให้ความสำคัญกับการวางแผนทำกำไรทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของ ธุรกิจ  โดยสารสนเทศที่เป็นที่ต้องการคือสารสนเทศจากการวิจัยตลาด ยอดขายในอดีต  สารสนเทศของคู่แข่งขัน การพยากรณ์การขาย และการโฆษณา
7.  ระบบสารสนเทศสำหรับการกำหนดราคา  การกำหนดราคาของสินค้านับว่าเป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่งทางการตลาด เพราะต้องคำนึงถึงความต้องการของลูกค้า คู่แข่งขัน กำลังซื้อของลูกค้า โดยปกติแล้วราคาสินค้าจะตั้งจากราคาต้นทุนรวมกับร้อยละของกำไรที่ต้องการ โดยสารสนเทศที่ต้องการได้แก่ ตัวเลขกำไรของผลิตภัณฑ์ในอดีต เพื่อทำการปรับปรุงราคาให้ได้สัดส่วนของกำไรคงเดิม ในกรณีที่ต้นทุนมีการเปลี่ยนแปลง
8.  ระบบสารสนเทศสำหรับการควบคุมค่าใช้จ่าย  บุคคลที่เป็นผู้ควบคุมค่าใช้จ่ายสามารถควบคุมได้โดยดูจากรายงานของผลการทำ กำไร กับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงหรือสาเหตุของการคลาดเคลื่อนของค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการขายรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น เงินเดือน ค่าโฆษณา ค่าส่วนแบ่งการขาย เป็นต้น


ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีส่วนสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะการขยายโอกาสและเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางการค้า ซึ่งทำให้นักการตลาดสมัยใหม่ต้องสามารถประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อก่อ ให้เกิดโอกาสและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันแก่องค์การ ซึ่งจะส่งผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของตน

สารสนเทศด้านการตลาดอาจจะมีความแตกต่างกันตามประเภทของธุรกิจซึ่ง 
เราสามารถจำแนกระบบย่อยของระบบสารสนเทศด้านการตลาดได้ดังต่อไปนี้

1.  ระบบสารสนเทศสำหรับการขาย  สามารถแบ่งออกเป็นระบบย่อย 3 ระบบดังต่อไปนี้    ระบบสารสนเทศสำหรับสนับสนุนการขาย จะรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของฝ่ายขาย เพื่อให้การขายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งข้อมูลที่ระบบต้องการจะเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่จะทำการขาย รูปแบบ ราคา และการโฆษณาต่าง ๆ เพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้า นอกจากนี้อาจเกี่ยวกับช่องทางและ วิธีการขายสินค้าผ่านตัวแทนจำหน่ายในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับ ลูกค้า ตลอดจนคู่แข่งของผลิตภัณฑ์ที่จะขายและจำหน่ายสินค้าคงคลังของบริษัท     ระบบสารสนเทศสำหรับวิเคราะห์การขายจะรวบรวมสารสนเทศในเรื่องของกำไรหรือขาดทุนของผลิตภัณฑ์ ความสามารถของพนักงานขายสินค้า ยอดขายของแต่ละเขตการขาย รวมทั้งแนวโน้มการเติบโตของสินค้า ซึ่งสามารถหาข้อมูลได้จากรายงานต่าง ๆ เช่น รายงานการขาย รายงานของต้นทุนสินค้าและวัตถุดิบ เป็นต้น     ระบบสารสนเทศสำหรับการวิเคราะห์ลูกค้าจะช่วยในการวิเคราะห์ลูกค้าเพื่อให้ทราบถึงรูปแบบของการซื้อและ ประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ เพื่อที่ธุรกิจจะสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ                2.  ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยตลาด สามารถแบ่งออกเป็นระบบย่อยตามหน้าที่ได้ 2 ระบบ ดังต่อไปนี้    ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยลูกค้า  การ วิจัยลูกค้าจะต่างกับการวิเคราะห์ลูกค้าตรงที่ว่าการวิจัยลูกค้าจะมีขอบเขต ของการใช้สารสนเทศกว้างกว่าการวิเคราะห์ลูกค้า โดยการวิจัยลูกค้าจะต้องการทราบสารสนเทศ ที่เกี่ยวกับลูกค้าในด้านสถานะทางการเงิน การดำเนินธุรกิจ ความพอใจ รสนิยมและพฤติกรรมการบริโภค     ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยตลาด การวิจัยตลาดจะให้ความสำคัญกับการหาขนาดของตลาดของแต่ละผลิตภัณฑ์ที่จะนำออก จำหน่าย ซึ่งอาจครอบคลุมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว หลังจากนั้นก็จะกำหนดส่วนแบ่งตลาดของผลิตภัณฑ์เพื่อทำการวางแผน กำหนดเป้าหมาย กำหนดกลยุทธ์และวางแผนกลยุทธ์ สารสนเทศที่เป็นที่ต้องการของการวิจัยตลาดคือสภาวะและแนวโน้มทาง เศรษฐกิจ ยอดขายในอดีตของอุตสาหกรรมหรือผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันในตลาด รวมทั้งสภาวะการแข่งขันของผลิตภัณฑ์นี้ด้วย
6.  ระบบสารสนเทศสำหรับการวางแผนกำไร  เป็น ระบบสารสนเทศที่ให้ความสำคัญกับการวางแผนทำกำไรทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของ ธุรกิจ  โดยสารสนเทศที่เป็นที่ต้องการคือสารสนเทศจากการวิจัยตลาด ยอดขายในอดีต  สารสนเทศของคู่แข่งขัน การพยากรณ์การขาย และการโฆษณา
            การผลิต (production) เป็นกระบวนการแปรรูปทรัพยากรการผลิต เช่น วัตถุดิบ แรงงาน และ พลังงาน ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่พร้อมในการจัดจำหน่ายแก่ลูกค้า โดยผู้ผลิตต้องพยากรณ์ปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า โดยไม่ให้มีจำนวนมากหรือน้อยจนเกินไป ตลอดจนควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นที่ต้องการของลูกค้า โดยมีต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม ปัจจุบันการขยายตัวของธุรกิจจากการผลิตเข้าสู่สังคมบริการ ทำให้มีการประยุกต์หลักการของการจัดการผลิตกับงานด้านบริการ ซึ่งเราจะเรียกการผลิตในหน่วยบริการว่า “การดำเนินงาน (operations)” โดยที่แหล่งข้อมูลในการผลิตและการดำเนินงานขององค์การมีดังต่อไปนี้
1.  ข้อมูลการผลิต/การดำเนินงาน (production/operations data)  เป็นข้อมูลจากกระบวนการผลิตหรือการให้บริการ ซึ่งจะแสดงภาพปัจจุบันของระบบการผลิตของธุรกิจว่ามีประสทธิภาพมากน้อยเพียง ใด และมีปัญหาอย่างไรในการดำเนินงาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนในการแก้ปัญหาและการพัฒนาประสิทธิภาพการ ดำเนินงานในอนาคต
การบริหารทรัพยากรการผลิต โดยเฉพาะวัตถุดิบ (raw materials) เป็นหัวใจสำคัญของการจัดการด้านการดำเนินงานการผลิต ถ้าธุรกิจมีปริมาณวัตถุดิบมากเกินไปจะทำให้ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสูง แต่ถ้ามีปริมาณวัตถุดิบน้อยเกินไปก็จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อแผนและกระบวนการ ผลิต ตลอดจนก่อให้เกิดค่าเสียโอกาสทางธุรกิจ  การวางแผนความต้องการวัสดุ (material requirement planning) หรือที่เรียกว่า MRP เป็นระบบสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับระบบการผลิต  เพื่อประกอบการวางแผนความต้องการวัสดุเพื่อให้ธุรกิจสามารถจัดการวัตถุดิบ อย่างมีประสิทธิภาพ โดย MRP ให้ความสำคัญกับสิ่งต่อไปนี้
1.  ไม่เก็บวัตถุดิบเพื่อรอการใช้งานไว้นานเกินไป ซึ่งก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาและความเสี่ยงในการสูญหายหรือสูญเสีย
2.  รายงานผลการผลิตและความเสียหายที่เกิดขึ้นตามระยะเวลาที่กำหนด
3.  ควบคุมสินค้าคงคลังอย่างเป็นระบบ
4.  มีการตรวจสอบ แก้ไข และติดตามผลข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น
1.  ลดการขาดแคลนวัตถุดิบที่จำเป็นในการผลิต
2.  ลดค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาวัตถุดิบและสินค้าคงคลัง
3.  ช่วยให้บุคลากรมีเวลาในการปฏิบัติงานอื่นมากขึ้น
4.  ประหยัดแรงงาน เวลา และค่าใช้จ่ายในการติดตามวัตถุดิบ
5.  ช่วยให้องค์การสามารถปรับตัวอย่างรวดเร็วตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล
1.  ข้อมูลบุคลากร  เป็นข้อมูลของสมาชิกแต่ละคนขององค์การ ซึ่งประกอบด้วยประวัติเงินเดือนและ สวัสดิการ เป็นต้น

2.  ความสามารถ  (capability) หมายถึงความพร้อมขององค์การและบุคคลในการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยต้สูงต้องพร้อมที่จะสนับสนุนด้านนโยบาย กำลังคน กำลังเงิน และวัสดุอุปกรณ์ในการพัฒนาระบบสานสนเทศขององค์การ
        ฝ่ายทรัพยากรบุคคลต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และตื่นตัวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ เพื่อให้การทำงานในหน่วยงานมีความคล่องตัวขึ้น
        ฝ่ายสารสนเทศที่ต้องทำความเข้าใจและออกแบบระบบงานให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ในแต่ละกลุ่ม






3.  ระบบสารสนเทศสำหรับการส่งเสริมการขาย  เป็น ระบบที่ให้ความสำคัญกับแผนงานทางด้านการโฆษณาและส่งเสริมการขาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการขาย เพิ่มยอดขายสินค้า และเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดให้สูงขึ้น  สารสนเทศที่เป็นที่ต้องการคือยอดขายของสินค้าทุกชนิดในบริษัท เพื่อให้รู้ว่าสินค้าใดต้องการแผนการส่งเสริมการขาย และสารสนเทศที่เกี่ยวกับผลกำไรหรือขาดทุนของสินค้าแต่ละชนิด เพื่อให้ความสำคัญกับสินค้าตัวที่ทำกำไร
4.  ระบบสารสนเทศสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ  เป็นระบบสารสนเทศที่วิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ลักษณะและความต้องการของลูกค้าต่อผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการของลูกค้าแต่ยังไม่มีตลาด โดยสารสนเทศที่เป็นที่ต้องการของระบบได้แก่ ยอดขายของผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันในอดีต  เพื่อให้ทราบถึงขนาดและลักษณะของตลาด และการประมาณการต้นทุน เพื่อตอบคำถามให้ได้ว่าสมควรที่จะออกผลิตภัณฑ์ใหม่หรือไม่
5.  ระบบสารสนเทศสำหรับพยากรณ์การขาย  เป็นระบบที่ใช้ในการวางแผนการขาย แผนการทำกำไรจากสินค้าหรือบริการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของบริษัท ซึ่งจะส่งผลไปถึงการวางแผนการผลิต การวางกำลังคน และงบประมาณที่จะใช้เกี่ยวกับการขาย โดยสารสนเทศที่เป็นที่ต้องการคือ ยอดขายในอดีต สถานะของคู่แข่งขัน สภาวการณ์ของตลาด และแผนการโฆษณา
7.  ระบบสารสนเทศสำหรับการกำหนดราคา  การกำหนดราคาของสินค้านับว่าเป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่งทางการตลาด เพราะต้องคำนึงถึงความต้องการของลูกค้า คู่แข่งขัน กำลังซื้อของลูกค้า โดยปกติแล้วราคาสินค้าจะตั้งจากราคาต้นทุนรวมกับร้อยละของกำไรที่ต้องการ โดยสารสนเทศที่ต้องการได้แก่ ตัวเลขกำไรของผลิตภัณฑ์ในอดีต เพื่อทำการปรับปรุงราคาให้ได้สัดส่วนของกำไรคงเดิม ในกรณีที่ต้นทุนมีการเปลี่ยนแปลง
8.  ระบบสารสนเทศสำหรับการควบคุมค่าใช้จ่าย  บุคคลที่เป็นผู้ควบคุมค่าใช้จ่ายสามารถควบคุมได้โดยดูจากรายงานของผลการทำ กำไร กับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงหรือสาเหตุของการคลาดเคลื่อนของค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการขายรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น เงินเดือน ค่าโฆษณา ค่าส่วนแบ่งการขาย เป็นต้น
            ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีส่วนสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะการขยายโอกาสและเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางการค้า ซึ่งทำให้นักการตลาดสมัยใหม่ต้องสามารถประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อก่อ ให้เกิดโอกาสและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันแก่องค์การ ซึ่งจะส่งผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของตน
ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน 
2.  ข้อมูลสินค้าคงคลัง (inventory data) บันทึกปริมาณวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปที่เก็บไว้ในโกดัง โดยผู้จัดการต้องพยายามจัดให้มีสินค้าคงคลังในปริมาณไม่เกินความจำเป็นหรือ ขาดแคลนเมื่อเกิดความต้องการขึ้น
3.  ข้อมูลจากผู้ขายวัตถุดิบ (supplier data)  เป็นข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณ คุณสมบัติ และราคาวัตถุดิบ ตลอดจนช่วงทางและต้นทุนในการลำเลียงวัตถุดิบ ปัจจุบันการพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (electronic data interchange) หรือที่เรียกว่า EDI ช่วยให้การประสานงานระหว่างผู้ขายวัตถุดิบ ธุรกิจ และลูกค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น
4.  ข้อมูลแรงงานและบุคลากร (labor force and personnel data) ข้อมูลเกี่ยวกับพนักงานในสายการผลิตและปฏิบัติการ เช่น อายุ การศึกษา และประสบการณ์ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดบุคลากรให้สอดคล้องกับงาน ขณะที่ข้อมูลภายนอกเกี่ยวกับตลาดแรงงานจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนและจัดหา แรงงานทดแทน และการกำหนดอัตราค่าจ้างอย่างเหมาะสม
5.  กลยุทธ์องค์การ (corporate strategy)  แผนกลยุทธ์ขององค์การจะเป็นแม่บทและแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์การผลิตแลการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ
                การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานขององค์การ นอกจากจะส่งผลต่อการพัฒนาผลิตผล (productivity) ของธุรกิจ โดยเฉพาะการปฏิบัติ ตั้งแต่การตัดสินใจเกี่ยวกับการออกแบบและการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ การปรับปรุงกระบวนการผลิต การควบคุมสินค้าคงคลัง การวางแผนคุณภาพ การเพิ่มผลผลิต และการควบคุมต้นทุนขององค์การให้มีประสิทธิภาพขึ้น ทำให้ระบบอุตสาหกรรมและระบบเศรษฐกิจโดยรวมเติบโตแล้ว ยังส่งผลต่อความคล่องตัวในการปฏิบัติงานและการจัดรูปแบบความสัมพันธ์ทาง สังคมโดยทางตรงและทางอ้อม

การวางแผนความต้องการวัสดุ 
            โดยที่ MRP  มีบทบาทต่อระบบการผลิตขององค์การตั้งแต่การจัดหาวัสดุ เพื่อทำการผลิตโดยการกำหนดปริมาณและระยะเวลาในการสั่งที่ประหยัดค่าใช้จ่าย ตลอดจนจัดเตรียมรายละเอียดของการผลิตในอนาคตซึ่งเราสามารถสรุปว่า MRP  มีข้อดีดังต่อไปนี้
            นอกจากระบบ MRP แล้ว ได้มีผู้พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการดำเนินงาน เช่น การจัดการคุณภาพโดยรวม (total quality management) หรือที่เรียกว่า TQM และการผลิตแบบทันเวลาพอดี (just-in-time production) หรือที่เรียกว่า JIT เพื่อให้ได้การผลิตที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้น ซึ่งต่างต้องอาศัยระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ เกี่ยวข้องกับผู้ขายวัตถุดิบ (supplier) และลูกค้าภายนอกองค์การ ตลอดจนบุคลากรต้องมีความรู้และความสามารถใน การใช้งานระบบสารสนเทศด้านการผลิตขององค์การอย่างเต็มที่
            ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล (human resource information system) หรือ HRIS หรือระบบสานสนเทศสำหรับบริหารงานบุคคล (personnel information system) หรือ PIS เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาให้สนับสนุนการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่การวางแผน การจ้างงาน การพัฒนาและการฝึกอบรม ค่าจ้างเงินเดือน การดำเนินการทางวินัย ช่วยให้การบริหารทรัพยากรบุคคลเกิดประสิทธิภาพ โดยที่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรบุคคลจะมีดังนี้
2.  ผังองค์การ  แสดงโครงสร้างองค์การ การจัดหน่วยงานและแผนกำลังคน ซึ่งแสดงทั้งปริมาณและการจัดสรรทรัพยากรบุคคล
3.  ข้อมูลจากภายนอก  ระบบบริหาร ทรัพยากรบุคคลมิใช่ระบบปิดที่ควบคุมและดูแลสมาชิกภายในองค์การเท่านั้น แต่จะเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง  ซึ่งต้องการข้อมูลจากภายนอกองค์การ เช่น การสำรวจเงินเดือน อัตราการว่างงาน อัตราเงินเฟ้อ เป็นต้น
                การจัดการทรัพยากรบุคคลเป็นงานสำคัญ ที่มิใช่เพียงแต่การปฏิบัติงาน ประจำวันที่เกี่ยวกับการควบคุมดูแลบุคลากรและค่าจ้างแรงงานเท่านั้น แต่ต้องเป็นการดำเนินงานเชิงรุก (proactive) การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานช่วย ให้งานทรัพยากรบุคคลมีประสิทธิภาพขึ้น โดยที่การพัฒนาระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคลต้องพิจารณาปัจจัยสำคัญ 5 ประการดังต่อไปนี้
2.  การควบคุม (control) การพัฒนา HRIS จะให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของสารสนเทศโดยเฉพาะการเข้า ถึงและความถูกต้องของข้อมูล เนื่องจากข้อมูลด้านทรัยพากรบุคคลจะเกี่ยวข้องกับความเป็นส่วนตัวของสมาชิก แต่ละคน ซึ่งจะมีผลต่อชื่อเสียงและผลได้-ผลเสียของบุคคล จึงต้องมีการจัดระบบการเข้าถึงและจัดการข้อมูลที่รัดกุม  โดยอนุญาตให้ผู้มีหน้าที่และความรับผิดชอบในแต่ละหน่วยงานสามารถ เข้าถึงและปรับปรุงสารสนเทศในส่วนงานของตนเท่านั้น
3.  ต้นทุน (cost) ปกติการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคลจะมีต้นทุนที่สูง ขณะเดียวกันก็จะไม่เห็นผลตอบแทนที่ชัดเจน ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงขององค์การทั้งในด้านการขยายตัวและหดตัวซึ่งจะมีผลกระทบต่อ บุคลากร ดังนั้นฝ่ายบริหารและทรัพยากรบุคคลสมควรมีข้อมูลที่เหมาะสมในการตัดสินใจ เป็นต้น ขณะเดียวกัน การลงทุนในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งฝ่ายบริหารสมควรต้องพิจารณาผลตอบแทนที่ได้รับจากการพัฒนาระบบว่าคุ้มค่า กับต้นทุนที่ใช้ไปหรือไม่
4.  การติดต่อสื่อสาร (communication) หมายถึงการพัฒนาระบบสารสนเทศต้องศึกษาการไหลเวียนของสารสนเทศ (inforamtion flow) ภายในองค์การและความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนเตรียมการในการสื่อสารข้อมูล เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบ เกิดความเข้าใจและทัศนคติที่ดีกับการนำระบบสารสนเทศมาประยุกต์ใช้
5.  ความได้เปรียบในการแข่งขัน (competitive advantage) ปัจจุบันการพัฒนา HRIS ไม่เพียงแต่ช่วยให้การดำเนินงานขององค์การมีประสิทธิภาพขึ้น  แต่ยังมีส่วนสำคัญในการสร้างศักยภาพและความได้เปรียบในการแข่งขันให้แก่ ธุรกิจ
                ปัจจุบันเราต่างยอมรับว่า คนเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ แต่ทรัพยากรบุคคลเป็นทรัพยากรมีค่าใช้จ่ายสูงที่ธุรกิจ ต้องรับภาระทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น เงินเดือน สวัสดิการ และข้อมูลผูกพันในสัญญาจ้างงาน HRIS เป็นระบบสารสนเทศที่นำเสนอข้อมูลการตัดสินใจซึ่งเกิดประโยชน์แก่องค์การและ สมาชิกแต่ละคน ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับงานด้านทรัพยากรบุคคลอย่าง ถูกต้องขึ้น


ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน 
          การผลิต (production) เป็นกระบวนการแปรรูปทรัพยากรการผลิต เช่น วัตถุดิบ แรงงาน และ พลังงาน ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่พร้อมในการจัดจำหน่ายแก่ลูกค้า โดยผู้ผลิตต้องพยากรณ์ปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า โดยไม่ให้มีจำนวนมากหรือน้อยจนเกินไป ตลอดจนควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นที่ต้องการของลูกค้า โดยมีต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม ปัจจุบันการขยายตัวของธุรกิจจากการผลิตเข้าสู่สังคมบริการ ทำให้มีการประยุกต์หลักการของการจัดการผลิตกับงานด้านบริการ ซึ่งเราจะเรียกการผลิตในหน่วยบริการว่า “การดำเนินงาน (operations)” โดยที่แหล่งข้อมูลในการผลิตและการดำเนินงานขององค์การมีดังต่อไปนี้
1.  ข้อมูลการผลิต/การดำเนินงาน (production/operations data)  เป็นข้อมูลจากกระบวนการผลิตหรือการให้บริการ ซึ่งจะแสดงภาพปัจจุบันของระบบการผลิตของธุรกิจว่ามีประสทธิภาพมากน้อยเพียง ใด และมีปัญหาอย่างไรในการดำเนินงาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนในการแก้ปัญหาและการพัฒนาประสิทธิภาพการ ดำเนินงานในอนาคต
2.  ข้อมูลสินค้าคงคลัง (inventory data) บันทึกปริมาณวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปที่เก็บไว้ในโกดัง โดยผู้จัดการต้องพยายามจัดให้มีสินค้าคงคลังในปริมาณไม่เกินความจำเป็นหรือ ขาดแคลนเมื่อเกิดความต้องการขึ้น
3.  ข้อมูลจากผู้ขายวัตถุดิบ (supplier data)  เป็นข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณ คุณสมบัติ และราคาวัตถุดิบ ตลอดจนช่วงทางและต้นทุนในการลำเลียงวัตถุดิบ ปัจจุบันการพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (electronic data interchange) หรือที่เรียกว่า EDI ช่วยให้การประสานงานระหว่างผู้ขายวัตถุดิบ ธุรกิจ และลูกค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น
4.  ข้อมูลแรงงานและบุคลากร (labor force and personnel data) ข้อมูลเกี่ยวกับพนักงานในสายการผลิตและปฏิบัติการ เช่น อายุ การศึกษา และประสบการณ์ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดบุคลากรให้สอดคล้องกับงาน ขณะที่ข้อมูลภายนอกเกี่ยวกับตลาดแรงงานจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนและจัดหา แรงงานทดแทน และการกำหนดอัตราค่าจ้างอย่างเหมาะสม
5.  กลยุทธ์องค์การ (corporate strategy)  แผนกลยุทธ์ขององค์การจะเป็นแม่บทและแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์การผลิตแลการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ
                การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานขององค์การ นอกจากจะส่งผลต่อการพัฒนาผลิตผล (productivity) ของธุรกิจ โดยเฉพาะการปฏิบัติ ตั้งแต่การตัดสินใจเกี่ยวกับการออกแบบและการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ การปรับปรุงกระบวนการผลิต การควบคุมสินค้าคงคลัง การวางแผนคุณภาพ การเพิ่มผลผลิต และการควบคุมต้นทุนขององค์การให้มีประสิทธิภาพขึ้น ทำให้ระบบอุตสาหกรรมและระบบเศรษฐกิจโดยรวมเติบโตแล้ว ยังส่งผลต่อความคล่องตัวในการปฏิบัติงานและการจัดรูปแบบความสัมพันธ์ทาง สังคมโดยทางตรงและทางอ้อม

ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล
          ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล (human resource information system) หรือ HRIS หรือระบบสานสนเทศสำหรับบริหารงานบุคคล (personnel information system) หรือ PIS เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาให้สนับสนุนการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่การวางแผน การจ้างงาน การพัฒนาและการฝึกอบรม ค่าจ้างเงินเดือน การดำเนินการทางวินัย ช่วยให้การบริหารทรัพยากรบุคคลเกิดประสิทธิภาพ โดยที่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรบุคคลจะมีดังนี้

1.  ข้อมูลบุคลากร  เป็นข้อมูลของสมาชิกแต่ละคนขององค์การ ซึ่งประกอบด้วยประวัติเงินเดือนและ สวัสดิการ เป็นต้น
2.  ผังองค์การ  แสดงโครงสร้างองค์การ การจัดหน่วยงานและแผนกำลังคน ซึ่งแสดงทั้งปริมาณและการจัดสรรทรัพยากรบุคคล
3.  ข้อมูลจากภายนอก  ระบบบริหาร ทรัพยากรบุคคลมิใช่ระบบปิดที่ควบคุมและดูแลสมาชิกภายในองค์การเท่านั้น แต่จะเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง  ซึ่งต้องการข้อมูลจากภายนอกองค์การ เช่น การสำรวจเงินเดือน อัตราการว่างงาน อัตราเงินเฟ้อ เป็นต้น
                การจัดการทรัพยากรบุคคลเป็นงานสำคัญ ที่มิใช่เพียงแต่การปฏิบัติงาน ประจำวันที่เกี่ยวกับการควบคุมดูแลบุคลากรและค่าจ้างแรงงานเท่านั้น แต่ต้องเป็นการดำเนินงานเชิงรุก (proactive) การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานช่วย ให้งานทรัพยากรบุคคลมีประสิทธิภาพขึ้น โดยที่การพัฒนาระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคลต้องพิจารณาปัจจัยสำคัญ 5 ประการดังต่อไปนี้
1.  ความสามารถ  (capability) หมายถึงความพร้อมขององค์การและบุคคลในการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยต้องพิจารณาความสามารถของบุคลากร 3 กลุ่มคือ
     ผู้บริหารระดับสูงต้องพร้อมที่จะสนับสนุนด้านนโยบาย กำลังคน กำลังเงิน และวัสดุอุปกรณ์ในการพัฒนาระบบสานสนเทศขององค์การ
     ฝ่ายทรัพยากรบุคคลต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และตื่นตัวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ เพื่อให้การทำงานในหน่วยงานมีความคล่องตัวขึ้น
     ฝ่ายสารสนเทศที่ต้องทำความเข้าใจและออกแบบระบบงานให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ในแต่ละกลุ่ม
2.  การควบคุม (control) การพัฒนา HRIS จะให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของสารสนเทศโดยเฉพาะการเข้า ถึงและความถูกต้องของข้อมูล เนื่องจากข้อมูลด้านทรัยพากรบุคคลจะเกี่ยวข้องกับความเป็นส่วนตัวของสมาชิก แต่ละคน ซึ่งจะมีผลต่อชื่อเสียงและผลได้-ผลเสียของบุคคล จึงต้องมีการจัดระบบการเข้าถึงและจัดการข้อมูลที่รัดกุม  โดยอนุญาตให้ผู้มีหน้าที่และความรับผิดชอบในแต่ละหน่วยงานสามารถ เข้าถึงและปรับปรุงสารสนเทศในส่วนงานของตนเท่านั้น
3.  ต้นทุน (cost) ปกติการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคลจะมีต้นทุนที่สูง ขณะเดียวกันก็จะไม่เห็นผลตอบแทนที่ชัดเจน ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงขององค์การทั้งในด้านการขยายตัวและหดตัวซึ่งจะมีผลกระทบต่อ บุคลากร ดังนั้นฝ่ายบริหารและทรัพยากรบุคคลสมควรมีข้อมูลที่เหมาะสมในการตัดสินใจ เป็นต้น ขณะเดียวกัน การลงทุนในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งฝ่ายบริหารสมควรต้องพิจารณาผลตอบแทนที่ได้รับจากการพัฒนาระบบว่าคุ้มค่า กับต้นทุนที่ใช้ไปหรือไม่
4.  การติดต่อสื่อสาร (communication) หมายถึงการพัฒนาระบบสารสนเทศต้องศึกษาการไหลเวียนของสารสนเทศ (inforamtion flow) ภายในองค์การและความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนเตรียมการในการสื่อสารข้อมูล เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบ เกิดความเข้าใจและทัศนคติที่ดีกับการนำระบบสารสนเทศมาประยุกต์ใช้
5.  ความได้เปรียบในการแข่งขัน (competitive advantage) ปัจจุบันการพัฒนา HRIS ไม่เพียงแต่ช่วยให้การดำเนินงานขององค์การมีประสิทธิภาพขึ้น  แต่ยังมีส่วนสำคัญในการสร้างศักยภาพและความได้เปรียบในการแข่งขันให้แก่ ธุรกิจ
                ปัจจุบันเราต่างยอมรับว่า คนเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ แต่ทรัพยากรบุคคลเป็นทรัพยากรมีค่าใช้จ่ายสูงที่ธุรกิจ ต้องรับภาระทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น เงินเดือน สวัสดิการ และข้อมูลผูกพันในสัญญาจ้างงาน HRIS เป็นระบบสารสนเทศที่นำเสนอข้อมูลการตัดสินใจซึ่งเกิดประโยชน์แก่องค์การและ สมาชิกแต่ละคน ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับงานด้านทรัพยากรบุคคลอย่าง ถูกต้องขึ้น